ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน

BETONG


betong
เบตง
องค์มหาธาตุเจดีย์ พระพุทธธรรมประกาศ
มหาธาตุเจดีย์ฯ

เนื่องในอภิลักขิตสมัยเฉลิมฉลองพระชนมพรรษาครบ 5 รอบสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 วันที่ 12 สิงหาคม พุทธศักราช 2535
ฯพณฯ นายสวัสดิ์ โชติพานิช ประธานศาลฎีกาในขณะนั้น
คุณนงเยาว์ โชติพานิช ภรรยา และครอบครัว ตลอดจนญาติมิตร
คณะสงฆ์ในจังหวัดยะลา ปัตตานี และชาวพุทธศาสนิกชนภาคใต้
นายคุณวุฒิ มงคลประจักษ์ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลเบตง และชาวอำเภอเบตง ต่างมีจิตศรัทธาสมานฉันท์จัดดำเนินการก่อสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ ขึ้น ณ วัดพุทธาธิวาส ซึ่งมี พระครูไพศาลวุฒิกิจเป็นเจ้าอาวาส โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ทรงเป็นอุปถัมภก เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล และเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสมหามงคลสมัยเฉลิม พระชนมพรรษาครบ 5 รอบ 60 พรรษา ของ สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ และเพื่อเป็น การถาวรวัตถุสถานอันศักดิ์สิทธิ์แห่งพระพุทธศาสนา เป็นที่สักการะบูชาของพระพุทธศาสนิกชนมหาธาตุเจดีย์ฯยามเดือนเพ็ญ ชาวไทย ชาวภาคใต้และชาวต่างประเทศ เพื่อนบ้านข้างเคียงไปตลอดชั่วกาลนาน ก่อนลงมือก่อ สร้างได้สำรวจที่ดินบนเนินเขาภายในบริเวณวัดพุทธาธิวาส พบมีรอยรากฐานการก่อสร้างอยู่แล้ว เมื่อตรวจสอบจึงทราบว่าเดิมมีการริเริ่มก่อสร้างพระมหาธาตุเจดีย์บนเนินเขามานานแล้ว สมเด็จ พระศรีนครินทราบรมราชชนนีฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯเสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพิธีวาง ศิลาฤกษ์ไว้ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พุทธศักราช 2512 และทรงปลูกต้นสักทองไว้เป็นพระบรมราชานุสรณ์ 1 ต้นด้วย แต่การก่อสร้างไม่ปรากฏว่าได้ดำเนินการต่อแต่อย่างใด ท่านอาจารย์ ม.ร.ว.มิตรารุณ เกษมศรี สถาปนิกพระราชวังศิลปินแห่งชาติ สาขาสถาปัตยกรรมไทย ได้ดำเนินการออกแบบก่อสร้างเป็นพระมหาธาตุเจดีย์แบบศรีวิชัยประยุกต์มีพระเจดีย์ ประธานอยู่ตรงกลาง พระพุทธธรรมประกาศพระเจดีย์บริวารประจำ 4 องค์ มีพระเจดีย์เล็กขนาดเท่าเจดีย์บริวารสร้างแบบเดียวกัน ตั้งซ่อนอยู่ภายในเรือนธาตุเจดีย์ประธาน กำหนดไว้เป็นที่บรรจุพระสถูปอีกชั้นหนึ่งภายในพระสถูปบรรจุพระบรมสารีาริกธาตุเฉพาะองค์พระมหาธาตุเจดีย์ มีลักษณะทรงสี่เหลี่ยม กว้างด้านละ 39.90 เมตร สูง 39.90 เมตร ถ้าวัดจากเชิงบันไดนาคจะสูงประมาณ 69 เมตร ซึ่งมีความหมายในโอกาสมหามงคลชัย 60 พรรษาองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 เงินลงทุนการก่อสร้าง ฯพณฯ นายสวัสดิ์ โชติพานิช ประธานศาลฎีกาในสมัยนั้นได้รับอนุญาตจากท่านเจ้าอาวาสวัดช้างไห้ จังหวัดปัตตานี ให้สร้างพระหล่อเหมือนหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืดมอบให้แก่ผู้ร่วมบริจาคสมทบทุนในการก่อสร้าง ในระหว่างการก่อสร้าง สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์สมทบทุนการก่อสร้างพระมหาธาตุเจดีย์เป็นเงินจำนวน 200,000 บาท และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า …………พระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ…………..
ซึ่งมีความหมายว่า
พระพุทธเจ้าทรงประกาศธรรม

และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ ฯพณฯ นายสวัสดิ์ โชติพานิช และคณะหล่อพระพุทธรูปฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยจำลองจากพระพุทธรูปฉลองพระองค์ที่ประดิษฐานไว้ ในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารแล้วอันเชิญมาประดิษฐานไว้บนซุ้มพระพุทธในพระมหาธาตุเจดีย์ทั้ง 4 ทิศ คือ
พระพุทธรูปฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติ ประดิษฐานไว้บนซุ้มด้านทิศเหนือและทิศใต้
พระพุทธรูปฉลองพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเป็นพระพุทธรูปปางรำพึง ประดิษฐานไว้บนซุ้มด้านทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ประดิษฐานไว้บนซุ้มด้านทิศตะวันออก และทิศตะวันตก
เมื่อการก่อสร้างพระมหาธาตุเจดีย์แล้วเสร็จ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระมหาเศวตฉัตร และ พระบรมสารีริกธาตุ ให้ ฯพณฯ นายสวัสดิ์ โชติพานิช และ อาจารย์หม่อมราชวงค์ มิตรารุณ เกษมศรี อันเชิญมาสมโภชที่อำเภอเบตงในวันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พุทธศักราช 2536 เวลา 16.30 น. ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นหาที่สุดมิได้ ยังความปลาบปลื้มปิติยินดีเป็นอย่างยิ่งแก่คณะผู้จัดสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ พุทธศาสนิกชนทั่วภาคใต้และประเทศข้างเคียง สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงพระกรุณาโปรดเกล้าจะเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและยกฉัตร ตลอดจนการเปิดพระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ เพื่อเป็นสถานที่ศักสิทธิ์อันเป็นที่สัการะบูชาของพระพุทธศาสนิกชนทั่วทุกภูมิภาคและประเทศข้างเคียง
นอกจากนี้สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายกได้ทรงพระกรุณาประทานพระบรมสารีริกธาตุองค์รองด้วย พระบรมสารีริกธาตุพระราชทานจะบรรจุอยู่ในพระมหาธาตุเจดีย์องค์เล็กที่ประดิษฐานอยู่ในองค์เรือนธาตุพระมหาธาตุเจดีย์
ที่บรรจุอยู่แล้วในพระสถูปหินอ่อนซึ่งจำลององค์พระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ รอบๆพระสถูปหินอ่อนที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุประดับด้วยไม้แกะสลักและผ้าม่านสวยงามมาก ส่วนแท่นบัลลังก์ที่ประดิษฐานองค์พระสถูปที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุทำด้วยทองเหลือง ศิลปะลวดลายสวยงามมาก
เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พุทศักราช 2536 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้เสด็จพระราชดำเนินออกจากพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ไปเป็นองค์ประธานประกอบพิธี ทรงเจิมพระบรมสารีริกธาตุที่อัญเชิญมาเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พุทธศักราช2536 และทรงกระทำพิธียกยอดฉัตรทองคำขึ้นประดิษฐานบนยอดองค์พระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ และทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ด้วย
พระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศได้ก่อสร้างตามแบบสถาปัตยกรรมไทยที่ถูกต้องสมบูรณ์ทุกประการ ได้ดำเนินการทุกอย่างตามขนบธรรมเนียมประเพณีโบราณอย่างสมบูรณ์ เป็นบรมพุทธสถานศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองเบตง พร้อมทั้งพระบรมบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ปกแผ่ไปทั่วทุกทิศานุทิศ ยังความร่มเย็นสมบูรณ์มั่นคงแก่ผู้สักการะบูชาตลอดชั่วกาลนาน
เบตงในวันนี้   เบตงในวันหน้า   หน้าต่อไป
Design by Narong Rattanaya
If you want more information
Please contact Webmaster