ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน

Betong


betong
เบตง

ประวัติความเป็นมา
1. ยุคขยายอิทธิพล และครอบครอง
อำเภอเบตงเป็นดินแดนมลายูที่อยู่ภายใต้การปกครองดูแลของชนชาติไทยเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 700 ปีมาแล้ว ดังปรากฎในหลักฐานศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ระบุไว้ชัดเจนว่า ได้แผ่ขยายอิทธิพลถึงดินแดนไทรบุรี เประ กลันตัน และตรังกานู ดินแดนดังกล่าวมีฐานะเป็นประเทศราช กล่าวคือ สุโขทัยคงให้เจ้าเมืองปกครองเองแต่ต้องส่งส่วยหรือ เครื่องราชบรรณาการและกำลังพลมายังสุโขทัยยามต้องการ
จวบจนถึงยุคกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเกิดความวุ่นวายในราชสำนักของกรุงศรีอยุธยา และกอบกู้เมืองในสมัย ธนบุรีเปิดโอกาสให้หัวเมืองทางตอนใต้ (หัวเมืองมลายู) ในระยะเวลาดังกล่าว พัฒนาการของชุมชนกลายเป็นรัฐมี ความชัดเจนขึ้น ศูนย์กลางความเจริญของหัวเมืองประเทศราชเดิปรากฎขึ้นที่เมืองปัตตานี หัวเมืองมลายูดังได้กล่าว
ในเบื้องต้นได้กลับเข้ามาอยู่ภายใต้ปกครองของอาณาจักรไทยในสมัย รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และในเวลา ต่อมาพระองค์โปรดให้แบ่งหัวเมืองปัตตานีออกเป็นออกเป็น 7 หัวเมือง อันได้แก่ ยะลา ปัตตานี หนองจิก สายบุรี ยะหริ่ง ระแงะ และรามันห์ เพื่อให้สะดวกต่อการปกครองวิถีชีวิตชาวเบตงในอดีต
ในเวลาต่อมานอกจากการแบ่งเมืองปัตตานีออกเป็น 7 หัวเมืองแล้วพระองค์ยังได้กำหนดเขตเมืองแต่ละเมืองไว้อย่างชัด เจนในส่วนของเมืองยะลาอาณาเขตทางทิศใต้ระบุไว้ชัดเจนว่า จรดบันนังสตา (บะนังสะตา)ฟากใต้ลงไปอีกเป็นเขตเมืองรามันห์ (รามัญ)เมื่อเปรียบเทียบและพิจารณาดูจากแผนที่มณฑลปัตตานี กับแผนที่อาณาจักรไทยในสมัยหลัง ๆ สามารถยืนยันได้ว่า ดินแดนเมืองรามันห์ หรือรามัญปัจจุบัน คือ อำเภอเบตง และ หมายรวมถึงธารโตด้วย
2 ยุคปฏิรูปการปกครองของประเทศ
ตั้งแต่ได้แบ่งแยกเมืองปัตตานีออกเป็น 7 หัวเมืองในสมัยรัชกาลที่ 1 แล้ว หัวเมืองประเทศราชแถบมลายูได้อยู่ในการปกครองของไทย ตลอดจวบจนสมัยรัชกาลที่5ลัทธิล่าเมืองขึ้นหรือล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกได้แผ่เข้ามายังภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ประเทศต่าง ๆ ล้วนตกเป็นดินแดนอาณานิคมของชาติตะวันตก
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระเนตรอันยาวไกลที่มองเห็นภัยอันตรายจากการคุกคามของชาติตะวันตกเหล่านั้น ในขณะที่ต้องเสียดินแดนประเทศราชบางส่วนให้แก่อังกฤษ เช่น พ.ศ. 2452 เสีย กลัน ตรังกานู ไทรบุรี และปะลิส
ก่อนหน้านั้นในปี พ.ศ. 2444 - 2447 พระองศ์ได้ให้มีการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินเพื่อให้ทัดเทียมกับอารยประเทศทางตะวัน มีหน่วยการปกครอง แบ่งออกเป็น มลฑล เทศาภิบาล อำเภอ ตำบล และหมู่บ้านหลังจากที่มีการจัดรูปแบบการปกครองแล้วอาณาเขต พื้นที่เบตงถูกยกฐานะ เป็นอำเภอหนึ่งตั้งชื่อว่า
อำเภอยะรม
ประกอบด้วย ตำบลเบตง ตำบลยะรม ตำบลอิตำ ตำบลโกรแน ตำบลบาโลม และตำบลเซะ(โก๊ะ) รวม 6 ตำบล น้ำท่วมเบตงจากการปักปันหลักเขตใหม่ภายหลังที่ไทยต้องเสียดินแดน 4 รัฐดังได้กล่าวมาให้แก่อังกฤษในปี พ.ศ. 2452 ไทยต้องเสียตำบลอีก 4 ตำบล คือ ตำบลบาโลม ตำบลโกรแน ตำบลอิตำ และตำบลเซะ (โก๊ะ) ไปรวมกับรัฐเปรัค(เประ) ซึ่งเป็นของประเทศมาเลเซียแล้ว จึงเหลือพื้นที่ปกครองอยู่เพียง 2 ตำบล คือ ตำบลเบตง และตำบลยะรม พ.ศ. 2473 สมัย พระพิชิตบัญชา เป็นนายอำเภอเบตง ได้ย้ายที่ตั้งอำเภอจากบ้านฮางุด หมู่ที่ 1 ตำบลเบตง มาตั้งที่บ้านกำปงมัสยิด หมู่ที่ 6 ในตำบลเดียวกัน (ข้าง สภอ.เบตงปัจจุบัน) และได้เปลี่ยนชื่อจาก อำเภอยะรมเป็น อำเภอเบตง แล้วแบ่งการปกครองใหม่เป็น 4 ตำบล ประกอบด้วย ตำบลเบตง ตำบลยะรม ตำบลอัยเยอร์เวง และ ตำบลตาเนาะแมเราะ ในปัจจุบันนอกจากตำบลทั้ง 4 ดังกล่าวแล้วยังประกอบด้วยตำบลธารน้ำทิพย์ อีก 1 ตำบล อำเภอเบตงเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดยะลา หลังจากได้ให้มีการยกเลิกการปกครองแบบมณฑลจากมณฑลปัตตานีในปี พ.ศ. 2475 และให้มีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชอาณาจักรสยามในปี พ.ศ. 2476 แบ่งการบริหารราชการออกเป็นการบริหารราชการส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ในส่วนภูมิภาคได้จัดการปกครองออกเป็นจังหวัดและอำเภอตั้งแต่นั้นมา จนปัจจุบันจังหวัดยะลาประกอบด้วย อำเภอเมือง อำเภอยะหา อำเภอรามัน อำเภอบันนังสตา อำเภอเบตง อำเภอธารโต อำเภอกาบัง และกิ่งอำเภอกรงปีนัง
3. ยุคสร้างบ้านแปลงเมือง
อำเภอเบตงในอดีตแรกเริ่มเดิมที่เชื่อว่าเป็นกลุ่มคนที่พูดภาษายาวีหรือมลายูท้องถิ่นยังไม่มีรูปแบบชุมชนที่แน่นอนนัก คงเป็นลักษณะของการอยู่อาศัยที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป เนื่องจากไม่มีหลักฐานบันทึกหรือร่องรอยการตั้งถิ่นฐานปรากฎ ผู้คนกลุ่มนี้อาจมีความสัมพันธ์กับกลุ่มคนทางด้านประเทศมาเลเซียในขณะนั้นหลักฐานคำบอกเล่าที่ปรากฎในหนังสือภาษาจีน ของสมาคมก๋องสิ่วและของสมาคมบำเพ็ญบุญมูลนิธิที่เผยแพร่ในราวปี พ.ศ. 2535 ต่างก็ลงความเห็นตรงกันว่าชาวจีนกลุ่มแรกที่เดินทางจากประเทศจีน โดยเรือมาขึ้นฝั่งของประเทศมาเลเซียแล้วเดินทางเท้าหรือนั่งเกวียนเข้ามายังพื้นที่เบตงราวปี พ.ศ.2343 ด้วยสมาชิกประมาณ 10-20 คน ซึ่งเป็นคนหนุ่มสาวล้วน ๆ ลักษณะที่เผชิญอยู่เบื้องหน้าก็คือ สภาพป่าทึบที่เต็มไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด ผึ้ง, ต่อ, แตน, ตะขาบ, แมลงป่อง, ปลิง, ทาก, ไข้ป่ามากมาย ชาวจีนชื่อ เจิ้นฝ๋อเซิง (คุณฟูศักดิ์ จันทโรทัย) อาจกล่าวได้ว่าเป็นแรกที่เข้ามาตั้งรกราก เพื่อทำการค้าขาย ณ จุดทีเป็นเมืองเบตงปัจจุบัน หลังจากนั้นกิจการได้ก้าวหน้าขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมกับจำนวนผู้คนชาวจีนที่เดินทางเข้ามาอย่างรวดเร็ว อาจกล่าวได้ว่าชาวจีนที่อพยพมาจากมณฑลกว่างซี(เป็นมณฑลหนึ่งของจีนตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศดินแดนบางส่วนติดกับประเทศเวียตนาม) เป็นกลุ่มชาวจีนกลุ่มใหญ่ที่สุดของเบตงที่มีส่วนบุกเบิกอำเภอเบตงมากที่สุด
สภาพที่ชาวจีนทุกคนที่ทิ้งถิ่นฐานบ้านช่องที่ประเทศจีนหวังว่าจะมีชีวิตที่ดีกว่าด้วยการเริ่มต้นเพียงเสื่อผืนหมอนใบจริง ๆ เข้ามารับจ้างถางป่า หักล้างถางพงผืนป่าที่น่าสะพรึงกลัว ด้วยขวานขนาดใหญ่เล็ก 1-2 เล่มและเนื่องจากทางราชการไทยขณะนั้น กำลังต้องการผู้คนในการบุกเบิกพื้นที่ป่าไม้ที่มีอยู่มากมาย ได้เปิดโอกาสให้ผู้คนในบริเวณนี้สามารถจับจองที่ดิน ได้ตามกำลังความสามารถ อาจกล่าวได้ว่านี่คือโชคอย่างยิ่งของชาวจีนในยุคนั้นที่ได้มีชีวิตใหม่ภายใต้พระบราโพธิสมภารแห่งราชอาณาจักรไทย เพียงช่วงเวลาไม่กี่ปีผืนป่าอันกว้างใหญ่ตระหง่านอยู่เต็มขุนเขาถูกแปรสภาพกลายเป็นสวนยางพาราพื้นเมือง
ในเวลาต่อมาการก่อร่างสร้างตัวการสร้างบ้านแปลงเมืองเป็นไปอย่างรวดเร็วการสร้างบ้านพัฒนาเมืองจวบจนทุกวันนี้คงมิใช่ความสำเร็จ ที่เป็นไปอย่างราบรื่นนัก ชาวเบตงรุ่นบุกเบิกได้ผ่านอุปสรรคแล้วอย่างโชกโชน มื้อเที่ยงแต่ละมื้อ อาหารหลักคือ พริกจิ้มเกลือ ต้องอาบเหงื่อต่างน้ำ
ไม่ว่าฝนตกแดดออก ผิวกายดำเกรียม

สิ่งเหล่านี้คนรุ่นหลังพึงระลึกไว้เสมอ
ด้านการสื่อสารคมนาคมติดต่อกับภายนอก ในระยะแรกจะติดต่อกันที่อำเภอโกร๊ะชองมาเลเซีย โดยเฉพาะปัจจัย 4 สินค้าอุปโภคบริโภค การไปมาต้องอาศัยการเดินเท้าหรือนั่งเกวียนใช้เวลาประมาณ 1 วัน ยามหน้าแล้งเส้นทางเต็มไปด้วยฝุ่น ถึงยามหน้าฝนก็จะกลายเป็นโคลนไปทันที จักรยานเริ่มมีในเวลาต่อมา ในการติดต่อด้านจังหวัดยะลา มีน้อยมากเนื่องจากระยะทางที่ยาวไกล การเดินทางไม่สะดวกระยะแรก ๆ ต้องอาศัยการเดินเท้าหรือขี่ช้าง 2-3 วัน จากการบอกเล่าของ ขุนจรรยาวิธาน (ยูโซ๊ะ มะโรหบุตร) กล่าวว่า…..การเดินทางไปเบตงสมัยนั้นต้องอาศัยรถไฟจากหาดใหญ่ไปลงที่สถานีอะลอสตาร์ของประเทศมาเลเซียแล้วเดินทาง ด้วยรถยนต์ไปลงที่โกร๊ะหรือกะโระจากนั้นจึงเดินเท้าเข้าสู่เบตง เส้นทางหลวงจังหวัด หมายเลข 410 ยะลา-เบตง ดำเนินการก่อสร้างก่อนปี พ.ศ. 2468เส้นทางคดเคี้ยวสู่เบตง แล้วเสร็จและเปิดการจราจรได้ในปี พ.ศ.2483 (ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ) เป็นถนนลูกรังกว้าง 4 เมตร การจราจรผ่านได้เฉพาะฤดูแล้งการลาดยางมะตอยดำเนินการแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2509
สภาพภูมิศาสตร์
ที่ตั้ง ขนาด และอาณาเขต
อำเภอเบตงมีขนาดเนื้อที่มากที่สุดของจังหวัดยะลา ประมาณ 1,328 ตารางกิโลเมตรเป็นอำเภอชายแดนใต้สุดของประเทศ มีความสำคัญในด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมของจังหวัดยะลามีความเจริญสูงเคียงคู่อำเภอเมืองยะลา ลักษณะของพื้นที่คล้ายหัวหอกที่พุ่งเข้าไปอยู่ในดินแดนประเทศอื่น กล่าวคือ ถูกขนาบด้วยดินแดนของประเทศมาเลเซียถึง 3 ด้าน อันมีผลกระทบ โดยตรงต่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
ภูมิประเทศ
พื้นที่ทั้งหมดตั้งอยู่ในแนวเทือกเขาสันกาลาคีรีที่ทอดตัวมาจากตะวันตกข้ามไปทางด้านตะวันออกเป็นแนวพรมแดนธรรมชาติ มีความยาว 129 กิโลเมตรโดยมีขอบสูงทางด้านทิศใต้ลาดเอียงลงสู่ทิศเหนือ พื้นที่ร้อยละ 85 เป็นภูเขาที่สลับซับซ้อน แม่น้ำปัตตานีที่ตั้งอำเภอเบตงอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,900 ฟุต ขณะเดียวกันมีพื้นที่ราบอยู่เพียงร้อยละ 10 เท่านั้น มีลักษณะเป็นที่ราบแคบๆระหว่างภูเขา เนินเขาและริมฝั่งแม่น้ำลำคลองทั่วไปเขตเมือง อำเภอเบตงนั้นตั้งอยู่ในหุบมีลักษณะเหมือน แอ่งกะทะที่โอบล้อมด้วยขุนเขาน้อยใหญ่ จากลักษณะภูมิประเทศที่เป็นภูเขาจึงเป็นจุดกำเนิด ของแม่น้ำสำคัญของจังหวัดยะลาและของภาคใต้นั่นคือแม่น้ำปัตตานีเป็นที่ตั้งของ เขื่อนบางลางที่มีภารกิจหลักสำคัญคือผลิตกระแส ไฟฟ้าให้แก่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และแก้ปัญหาน้ำท่วมตัวเมืองยะลา
ลักษณะภูมิอากาศ
สิ่งทีเป็นปัจจัยร่วมของลักษณะภูมิอากาศได้แก่ ที่ตั้ง ทิศทาง ลมประจำส่งผลโดยต่ออุณหภูมิปริมาณน้ำฝน มีอากาศร้อนชื้นตลอดปีโดยเฉลี่ยประมาณ 27.5 - 28.5 องศาเซลเซียส อุณภูมิสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 37.5 องศาเซลเซียส และต่ำสุดประมาณ 22 องศาเซลเซียส ส่วนที่เป็นปัจจัยเฉพาะสำหรับอำเภอเบตง คือ การวางตัวของภูเขาจากสภาพภูมิประเทศที่ เป็นภูเขาจำนวนมากและเป็นพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลจากทะเลมากพอสมควรทำให้ได้รับอิทธิพลจากทะเลน้อยลงไปบ้าง ปัจจัยที่อิทธิพลต่อลักษณะอากาศเฉพาะอีกปัจจัยหนึ่งคือลมประจำเวลา โดยเฉพาะลมภูเขาหรือลมหุบเขาส่งผลให้อากาศเวลากลางคืนค่อนข้างเย็น และก่อให้เกิดหมอกจำนวนมากในตอนเช้า
เบตงในวันนี้   เบตงในวันหน้า   หน้าต่อไป
Design by Narong Rattanaya
If you want more information
Please contact Webmaster