ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน

BETONG


betong
เบตง

มัสยิดกลางอำเภอเบตง
เดิมมัสยิดในเบตงราวปี พ.ศ.เท่าใดไม่ปรากฏ จำความได้มีคนทำเสาไม้กลม 6 ต้น ใบจาก 6 ลายา (ตับ) โต๊ะอิหม่ามคนแรกชื่อ ปือดีกา การีม เดิมเป็นคนแถวจังหวัดปัตตานีมาสอนมวยซีลัต ต่อมาก็ถึงแก่กรรมแล้วถูกย้ายมัสยิดมายังหมู่บ้านกำปงปือตงอยู่ทางทิศตะวันตกแถวบ้านฮัจยีอีชา ปัจจุบันหมู่บ้านนี้เรียกว่า
กำปงตือเม๊าะ
โต๊ะอีหม่าม ชื่อ ฮัจยี วากือจิ
ต่อมาย้ายไปตั้งที่หมู่บ้าน กำปงยูรอ ฮัจยีดาราโต๊ะอิหม่าม. ฮัจยีดาฮัง. ฮัจดือเร๊ะ ตามลำดับ ภายในมัสยิดกลางต่อมาก็ย้ายมาอยู่ที่ปัจจุบันตรงกับสมัยนายอำเภอเจ้าคุณสมานซึ่งย้ายมาจากจังหวัดสตูล ท่านได้ทำการปรับปรุง สมัยนั้นท่านฮัจยียะโก๊ะ ดาเต๊ะ เป็นอิหม่าม นับตั้งแต่นั้นมาประมาณ 93 ปีมาแล้ว อาคารที่สร้างหลังแรกนั้นหลังคามุงด้วยจาก ต่อมาก็มี นาย บราเฮง ซึ่งเป็นคนต่างถิ่น (คนจีนที่เข้ามารับนับถือศาสนาอิสลาม) เป็นนายช่างตัดไม้ ปรับปรุงเขียนแปลน ทำเสาไม้เหลี่ยม หลังคาทำด้วยไม้กระดาน ( นายบราเฮงถึงแก่ความตายที่หมู่บ้านกูนุงจอนอง) จากนั้นท่านฮัจยียะโก๊ะได้บูรณะดัดแปลงเป็นหลังคาสังกะสี โดยโครงอาคารยังคงเดิม เปลี่ยนพื้นเป็นซีเมนต์ ผู้รับเหมาครั้งนั้นได้ช่างจีนมาจากโกร๊ะประเทศมาเลเซียเป็นจีนไหหลำ
ในสมัยนั้นญี่ปุ่นได้เข้ามาในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จีนได้ทำลายโดยเอาไม้กระดานทำฟืน (ท่านฮัจยียะโก๊ะ ) ก็ได้สิ้นบุญ ญี่ปุ่นเอาเฉพาะฝากระดานส่วนตำราคัมภีร์อัลกุรอานญี่ปุ่นเผาหมดเหลือแต่โครงสร้างของอาคารเท่านั้นแต่ก็ยังทำเป็นที่ปฏิบัติศาสนกิจได้ซึ่งตอนนั้นตรงกับสมัยฮัจยีดรานิง ดาเต๊ะ เป็นอิหม่าม ตอนนั้นอาคารทรุดโทรมมาก ท่านฮัจยีฮามะ ดาเต๊ะ (กรรมการปัจจุบัน 2524 ) ได้เดินทางกลับมาจากเมืองเม็กกะครั้งที่ 2 ท่านได้แลเห็นสภาพทรุดโทรมมากจึงได้เชิญชวนพี่น้องชาวมุสลิมสมัยนั้นช่วยกันบูรณะ อยู่มาวันหนึ่งตรงกับวันศุกร์ท่านได้ปราศรัยกับทุก ๆ ท่าน จึงพร้อมใจที่สร้างมัสยิดหลังใหม่ขึ้นมัสยิดกลางเบตง
สมัยนั้นตรงกับสมัย นายอำเภอคำรณ ผู้กองพูลศักดิ์ พระนรพันธุ์ ตอนนั้นทางรัฐบาลก็ยังไม่ให้ทุนท่านฮัจยีฮามะ ดาเต๊ะ ได้รายงานต่อผู้กองและนายอำเภอตามลำดับ (พ.ศ. 2497 ) ได้มีผู้บริจาคเงินงบประมาณ 3,000 บาท ท่านฮัจยีฮามะ ดาเต๊ะ ได้กู้เงินจากชาวจีนชื่อ อาเหลียงรับประกันเหล็กกับซีเมนต์ ชาวบ้านจึงช่วยกันเอาหินกับทรายมาสมทบด้วยแรงศรัทธาประมาณ 15 หมู่บ้าน หมู่บ้านหนึ่งจะมาช่วยกันสร้างหมู่บ้านละ 1 วัน ยกเว้นวันศุกร์ช่วยดัดเหล็กขุดหลุมตามแต่ถนัด (ตอนนั้นหมู่บ้านอัยเยอร์เวงยังไม่ได้ร่วม ที่ร่วมในตอนนั้นก็เห็นจะเพียง 3 ตำบล คือ ตำบลเบตง ตำบลตาเนาะแมเราะ และตำบลยะรม คงจะจดทะเบียนมัสยิดในตอนนั้น)
ต่อมาท่านฮัจยีฮามะ ดาเต๊ะ ได้เดินทางไปกรุงเทพฯ ขอทุนสมทบจากรัฐบาล ตรงกับสมัยนายเผ่า เป็นรัฐมนตรีมหาดไทย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ทางรัฐบาลจึงได้สมทบทุนงบประมาณราว 500,00 บาท แปลนตอนนั้นเป็นแปลนชั่วคราวตามที่รัฐบาลได้พิจารณาแตก็ไม่ใช้ แปลนอาคารปัจจุบันท่านฮัจยีฮามะดาเต๊ะได้เดินทางไปดูในท้องที่ต่างๆ ได้แก่ ปัตตานี ยะลา หาดใหญ่ตลอดจนประเทศมาเลเซีย ได้แก่ ออลัสตาร์ เปรัค เปอร์ลิศ และได้รวมแบบต่างๆ ไว้มาสร้าง (โดยไม่มีหลักฐานแปลนบนกระดาษ ) เพียงแต่อยู่ในความคิดของท่าน
เบตงในวันนี้   เบตงในวันหน้า   หน้าต่อไป
Design by Narong Rattanaya
If you want more information
Please contact Webmaster