ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน

BETONG


betong
เบตง

วันนี้ของเบตง
เบตงในอดีตและปัจจุบันโครงสร้างประชากรมิได้แตกต่างกันมากนัก ประมาณร้อยละ 51.5 เป็นกลุ่มคนไทยซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม มี ภาษายาวีท้องถิ่นซึ่งใช้สื่อสารในชีวิตประจำวันร้อยละ 47.5 เป็นกลุ่มคนไทยซึ่งนับถือศาสนาพุทธ โดยสามารถแยกออกเป็น 2 กลุ่มย่อยได้ชัดเจน คือ กลุ่มชาวไทยพุทธแท้ๆ ซึ่งมีพื้นเพมาจากจังหวัดทางภาคใต้ เช่น สงขลา นครศรีธรรมราช พัทลุง สุราษฎร์ธานี เป็นต้น กลุ่มย่อยนี้มีจำนวนไม่มากนักประมาณไม่เกินร้อยละ 10 ของกลุ่มดังกล่าวยินดีต้อนรับ ส่วนที่เหลือเป็นกลุ่มใหญ่คือ กลุ่มคนไทยที่มีเชื้อสายจีนพูดภาษาจีนท้องถิ่นของตน เช่น ภาษาจีนกวางไส (กว่างชี) และ จีนแคะ เป็นกลุ่มใหญ่แพร่หลายนอกเขตเทศบาล ภาษาจีน กวางตุ้ง (กว่างตง) แต้จี๋ว (ฉาวเจา) ฮกเกี้ยน (ฟุกเจี้ยน) แพร่หลายในเขตเมือง นอกจานั้นอีกประมาณร้อยละ 1 เป็นกลุ่มที่นับถือศาสนาคริสต์และฮินดู
จากสถิติสิ้นปี พ.ศ. 2541 อำเภอเบตงมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 48.837 คน อาศัยอยู่ในเขตเทศบาล 24.014 คนและนอกเขตเทศบาล 24.823 คน แม้อำเภอเบตงจะมีความแตกต่างทางอดีตความเป็นมา มีเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ประเพณี ความเชื่อ ความศรัทธาตลอดถึงค่านิยมที่หลากหลายดูประหนึ่งความแปลกแยกนี้จะเข้ากันไม่ได้ แต่กาลเวลาที่ผ่านมาเป็นคำตอบได้อย่างดีว่าความหลากหลายเหล่านั้นมิได้เป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิตต่อความสงบสุขของสังคมเลย ชาวเบตงเชื่อในสิ่งที่ดีงามเฉกเช่นมุสลิที่ให้เชื่อและศรัทธาในพระอัลลอฮไม่ว่าจะเกิด ณ แผ่นดินใด มุสลิมมีหน้าที่ต้องเป็นศาสนิกชนที่ดีของแผ่นดินนั้น ชาวไทยพุทธที่มีบบรรพบุรุษเป็นชาวจีนแผ่นดินใหญ่ที่อพยพหนีความอดอยากแร้นแค้นมาจากเมืองจีนบ้านเกิดเมืองนอนของเขามาบุกเบิกบนผืนแผ่นดินไทยแห่งนี้ อย่างเสี่ยงตายด้วยภัยอันตรายทุกลมหายใจ ตั้งแต่ย่ำเท้าลงเรือมาขึ้นฝั่งแถบมาเลเซีย แล้วเข้ามาอยู่เบตง หน่อเนื้อมากมายเกิดขึ้นที่นี่และสานต่อเจตนารมณ์ของผู้บุกเบิกที่ได้ล่วงลับไปแล้ว ชาวไทยพุทธเหล่านี้ระลึกเสมอว่า เขาคือ คนไทย ไม่ใช่คนจีน เพราะเขาเกิดและมีชีวิตความเป็นอยู่จริงคีอบนผืนแผ่นดินไทย
ฉะนั้นจึงไม่แปลกเลยที่ในอดีตที่ผ่านมาหลายพื้นที่ของจังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดเหตุการณ์รุนแรงแตสำหรับอำเภอเบตงมักไม่ได้รับความกระทบกระเทือน ทั้งนี้ทั้งนั้นเชื่อว่าาชาวเบตงทุกคนที่ได้ผ่านชีวิตที่นี่มีเยื่อใยผูกพันอย่างลึกซึ้งนั่นเอง
วิถีชีวิตชาวเบตง
ความหลากหลายทางด้าานวัฒนธรรม ความเชื่อ ศาสนา ประเพณี ถือความโชคดีของอำเภอเบตง สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งดีงาม แสดงถึงความมีอารยธรรม มีวิวัฒนาการที่ยาวนาน สะท้อนถึงความเป็นอารยชนที่มีความเจริญรุ่งเรืองที่ทรงคุณค่าในตัวคน
วิถีชีวิตด้านจารึกประเพณี
ภาพอันแสดงออกถึงความเป็นคนที่มีจารีตประเพณีที่แข็งแกร่งของกลุ่มชาวไทยเชื้อสายจีนที่สืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคนสามารถหาดูได้ที่นี่ เช่นการประกอบพิธีกงเต็ก (พิธีการสวดศพ) เทศกาลเช็งเม้ง วันสารทจีน ฯลฯสถาปัตยกรรมสะท้อนอดีต
วิถีชีวิตด้านขนบประเพณี
ในส่วนของขนบประเพณีนั้นมีมากมาย เช่น ประเพณีการแต่งงาน เทศกาลวันไหว้พระจันทร์ เทศกาลตรุษจีน เทศกาลแห่เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว เจ้าแม่กวนอิม การทำบุญตักบาตร เนื่องในโอกาสวันสำคัญทางศาสนาพุทธ เทศกาลถือศีลอด หรือปอซอ เทศกาลฮารีรายอ ในศาสนาอิสลาม
วิถีชีวิตด้านขนบธรรมเนียมประเพณี
อันเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกในชีวิตประจำวันเป็นส่วนใหญ่ประกอบด้วยวิถีชีวิต การพูดจาทักทายทางภาษา การรับประทานอาหาร การแต่งกาย การประกอบอาชีพ การสร้างที่อยู่อาศัย สิ่งแหล่านี้มักจะมีเรื่องของความเชื่อ ความศรัทธา ค่านิยมแฝงอยู่ เช่นการใช้ภาษาถิ่นของกลุ่มชาวไทยเชื้อสายจีนที่มีอยู่ด้วยกันหลายสำเนียงการใช้ภาษายาวีในกลุ่มชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม การนิยมพูดภาษาไทยภาคกลางมากกว่าภาคใต้ การใช้ตะเกียบ การสร้างบ้านที่อยู่อาศัย สิ่งเหล่านี้ของกลุ่มชาวไทยทั้งสามปรากฏให้เห็นชัดในชนบท ในข้อเท็จจริงนั้นวิถีชีวิตของชาวเบตงยังมีอีกมากมายที่ไม่ได้นำมาเสนอไว้ในที่นี้และสิ่งเหล่านี้นั้นยังคงดำรงอยู่ในทุกลมหายใจเข้าออกของกลุ่มชาวไทยพุทธ ชาวไทยเชื้อสายจีนและชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม
…………หล่อหลอมเป็นเอกลักษณ์ของชาวเบตงในปัจจุบันนี้…………
เบตงในวันนี้   เบตงในวันหน้า   หน้าต่อไป
Design by Narong Rattanaya
If you want more information
Please contact Webmaster