ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน

YALA

 ประกาศหาคู่ผ่านอินเตอร์เน็ต Ghost Joke Discovery Thailand
Discovery Thailand

SaKai
ซาไก หรือ ที่ชาวภาคใต้ทั่วไปเรียกกันว่า เงาะ เป็นชนกลุ่มน้อยเผ่าหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย มีความแตกต่างจากคนไทยส่วนใหญ่ทั้งด้านร่างกาย สังคม และวัฒนธรรม อาศัยอยู่ตามป่าเขา โดยอยู่ตามเชิงผา หรือป่าโปร่ง สร้างกระท่อมเล็กๆ เป็นที่พักกระจายอยู่ในเขตจังหวัดต่างๆ ของภาคใต้ คือ พัทลุง ตรัง สตูล ปัตตานี ยะลา และ นราธิวาส ตลอดไปจนถึงรัฐเคดาห์และปาหัง ประเทศมาเลเซีย และบนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย เป็นกลุ่มชนที่ยังใช้ชีวิตอยู่กับวัฒนธรรมล่าสัตว์ (Hunting Culture)อย่างสมบูรณ์ ยังไม่ค่อยจะรับรู้การพัฒนาทางวัตถุของสังคมเมือง มีความพอใจและรักที่จะอยู่กับป่าเขาลำเนาไพร มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย ต้องให้มีชีวิตอยู่ได้เพียงวันนี้วันเดียว ชีวิตพรุ่งนี้ค่อยคิดกันในวันพรุ่งนี้ แต่มีความรู้ความชำนาญในการแสวงหาสมุนไพรมาใช้ในการรักษาพยาบาลตนเองอย่างน่าสนใจยิ่ง เช่น มียาคุมกำเหนิดและยาใช้ง่ายใช้มานานแสนนานมีผู้เรียกชื่อชนกลุ่มนี้หลายชื่อ เช่น ซาแก เซมัง (Semang) ซินอย (Senoi) คะนัง โอรัง อัสลี (Orang Asli) ออแก อัสลี นิกริโต (Negreto) และเงาะ เป็นต้น พวกเขาเรียกตัวเองว่า "ก็อย" "มันนิ" "คะนัง" บ้าง

เชื้อชาติและประชากร
พระยาอนุมานราชธน ชิน อยู่ดี และบราเซอร์ อมาโด มีความเห็นทำนองเดียวกันว่า พวกซาไกเป็นพวก "นิกริโต" (Negreto) ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของกลุ่มเชื้อชาติใหญ่ที่เรียกว่า "นิกรอยด์" (Negroid) นักมานุษยวิทยาบางท่านให้ความเห็นว่า ซาไก เป็นชนเผ่าเวดดาบนเกาะลังกาอพยพเข้ามา บางท่านเชื่อว่า เป็นชนเชื้อสายมอญ - เขมร ก็มี และว่าเป็น เชื้อสายเดียวกับพวกชาวเขาในมณฑลยูนนานของประเทศจีนก็มี จากคำเรียกชื่อซาไกที่ว่า "โอรัง อัสลี" ซึ่งแปลว่า คนเก่าแก่ คนดั้งเดิม หรือคนพื้นเมือง และลักษณะการฝังศพตามประเพณีของซาไก คือ ขุดหลุมฝังนอนตะแคง ทำให้สันนิษฐานว่า คนกลุ่มนี้มีประวัติการตั้งถิ่นฐานอยู่ในบรเวณนี้มาตั้งแต่สมัยหินตอนกลาง และอาจจะมาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณนี้ก่อยกลุ่มอื่นๆก็เป็นได้ ประชากรซาไกกระจัดกระจายอยู่ทั้งในประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย ในประเทศไทยมีประมาณ 200 คน แยกเป็นกลุ่มตามภาษาที่ใช้ได้เป็น 4 กลุ่ม คือ
1 กลุ่มแต็นแอ็น ใช้ภาษาแต็นแอ็น มีถิ่นฐานอยู่แถบจังหวัด พัทลุง สตูล มีประชากรประมาณ 70 คน
2 กลุ่มกันซิว ใช้ภาษา กันซิว มีถิ่นฐานอยู่แถบจังหวัด ยะลา มีประชากรประมาณ 60 คน
3 กลุ่มแตะเด๊ะ ใช้ภาษาแตะเด๊ะ มีถิ่นฐานอยู่แถบอำเภอ รือเสาะ และระแงะ จังหวัดนราธิวาส มีประชากรประมาณ 40คน
4 กลุ่มยะฮายย์ ใช้ภาษายะฮายย์ มีถิ่นฐานอยู่แถบอำเถอ แว้ง จังหวัดนราธิวาส มีประมาณ 30 คน เกี่ยวกับประชากรซาไก ไม่อาจจะกำหนดให้ชัดเจนลงได้ เพราะยากต่อการสำรวจ เมื่อประมาณปี พ.ศ.2526 ชาวอำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง ผู้หนึ่งให้ข้อมูลว่า เขาพบซาไกบนภูเขาบรรทัดประมาณ 70 คน เมื่อปี พ.ศ. 2527 คณะสำรวจของสถาบันทักษิณคดีศึกษา พบซาไกที่ตำบลลิพัง อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง มี 20 คน และเมื่อปี พ.ศ.2528 ชาวตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุงบอกว่าพบซาไกลงมาอยู่ใกล้หมู่บ้านประมาณ 30 คน ส่วนซาไกในประเทศมาเลเซีย ตามรายงานของ Abdul Kadir B.Abdullar หัวหน้าศูนย์คนพื้นเมืองแห่งกริด รัฐเประ เมื่อปี พ.ศ. 2522 ประมาณว่ามีซาไกในประเทศมาเลเซียประมาณ 70,000 คน แบ่งตามภาษาที่ใช้ประจำกลุ่มเป็น 11 กลุ่ม คือ โมต็อยฮ้อง ซ้อยอ็อนปร๊ะ ฮ็องไตย์ ปะตั๊ก ไดย์ฮ่องยาเลาะ ปะและ ละเนาะ สะไมย์ เลาะแตะอ็อง กัลต๊ะ และโมฮอต๊อก ซาไกทุกกลุ่มทั้งในภาคใต้ของประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย พวกเขาถือว่าเป็น "มันนิ" ด้วยกัน เป็นพวกเดียวกันทั้งสิ้น
Design by Narong Rattanaya
If you want more information
Please contact Webmaster