ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน

BETONG


betong
เบตง

ส้มโชกุน
จังหวัดยะลามีผลไม้ที่ขึ้นชื่อเป็นที่รู้จัก หากได้ชิมจะติดใจในรสที่นุ่มนวล ผลไม้นั้นคือ ส้มโชกุน
ส้มโชกุนจุดกำเนิดที่พบต้นแรกที่อำเภอเบตงเป็นส้มที่กลายพันธุ์ มาจากส้มแมนดารินเหตุผลที่ได้ชื่อว่า เป็นส้มที่ดีที่สุดในโลกเพราะคุณสมบัติที่โดดเด่น คือ มีเปลือกบาง ร่อนเปลือกได้ แยกกลีบได้ กลิ่นหอมรสหวานอมเปรี้ยว ไม่มีชานกรือกาก เมล็ดเล็กเรียวแหลม ทำน้ำส้มคั้นให้น้ำมาก เก็บไว้ในตู้เย็นได้นานถึง 10 วัน ในอุณภูมิแช่ผักโดยรสชาติของน้ำส้มไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนเปลือกสามารถนำมาปรับเป็นแยมหรืออุตสาหกรรมเปลือกส้ม
ลักษณะทรงต้นจะสูงกว่าส้มเขียวหวานทั่วไป กิ่งแข็งตั้งขึ้น ใบจะใหญ่กว่าส้มเขียวหวานเล็กน้อย ขอบใบจะบิดและห่อ รากหาอาหารเก่ง ไวต่อธาตุไนโตรเจน จะเติบโตและสูงกว่าส้มเขียวหวาน 1 เท่า ส่วนการดูแลรักษาจะต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ โดยเฉพาะการเสริมอาหาร ใส่ปุ๋ย ส้มโชกุน
การตัดแต่งกิ่ง และการป้องกันโรคป้องกันโรคกันแมลงที่อาจมารบกวนต้นส้มได้ โรคที่พบบ่อย คือ โรคธาตุอาหารไม่สมดุลย์ โรคแดงเกอร์ โรคเมลาโนส โรคทรัสโตซ่ามายโตพลาสมา โรครากเน่ามีเชื้อกับไม่มีเชื้อ โรคกรีนโมนหลังเก็บเกี่ยว ราสีชมพูกิ่ง ราดำที่ลงผลและใบ สาหร่าย ไลเคนลงตาม กิ่ง ใบ ผล แมลงที่สามารถทำความเสียหายกับต้นส้ม คือ เพลี้ยไฟ เพลี้ยหนอน เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยหอย ไร หนอนชอนใบ หนอนแก้ว หนอนคืบ หนอนเขียว หนอนหวาน และ แมลงวันทอง ความเป็นส้มที่มีความเป็นเลิศในรสชาติและคุณภาพของส้มโชกุนได้มีการขยายพื้นที่จากจังหวัดยะลา ไปสู่ทุกภาคของประเทศไทยโดยเฉพาะภาคเหนือได้มีการปลูกกันอย่างกว้างขวางและ ตั้งชื่อใหม่ว่า ส้มสายน้ำผึ้ง และนอกจากนั้นยังได้ขยายในบางส่วนของประเทศเพื่อนบ้านของเราด้วย
เคาหยก
เคาหยกเคาหยกเป็นอาหารที่มีชื่อของเบตงทำจากเนื้อหมูกับเผือก มีวิธีปรุงที่สลับซับซ้อน คือนำเอาเนื้อหมู 3 ชั้น มาต้มให้สุกเสียก่อนจากนั้นก็ใช้ซ่อมจิ้ม หนังหมูเพื่อให้น้ำมันไหลออกมาทาเกลือ นำไปทอดให้หนังหมูพอง แล้วนำมาต้มอีกครั้ง นำขึ้นจากหม้อต้มมาผ่านน้ำเย็นเพื่อให้หมูกรอบหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ นำไปหมักกับเครื่องยาจีน แล้วนำมาจัดวางสลับกับเผือกทอด ในขั้นตอนสุดท้ายก่อนรับประทานต้องนำไปนึ่งอีกครั้งประมาณ 45 นาที
กบภูเขาเบตง
กบภูเขาเป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวต้องลิ้มลอง ถือเป็นเอกลักษณ์อีกอย่างของอำเภอเบตง เป็นกบธรรมชาติ นิยมใช้ผัดและทอดกระเทียมพริกไทย กบภูเขา หรือใช้แทนเนื้อหมูใส่ในโจ๊กที่ เรียกว่า โจ๊กกบ ซึ่งโดยทั่วไปกบเบตงจะอาศัยอยู่ตามป่าเบญจพรรณมีขนาดใหญ่น้ำหนัก 0.5-1.0 กิโลกรัมต่อตัว
ไก่เบตง
อาหารที่มี่ชื่อในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา คือไก่เบตง
ไก่เบตงเป็นไก่สายพันธุ์กวางไส ซึ่งนำมาจากประเทศจีนเข้าในอำเภอเบตงโดยชาวจีนผ่านมาทางมาเลเซีย และได้มีการขยายพันธุ์ โดยนำมาผสมกับไก่พันธุ์พื้นเมือง ซึ่งเป็นที่นิยมเลี้ยงกันโดยทั่วไปในอำเภอเบตง
ลักษณะเด่นของไก่เบตง
ปากและขาจะมีสีเหลือง
ขนอ่อนนุ่ม
สีเหลืองแซมขาว
แต่ปีกและหางจะไม่มีขน ชอบอาศัยรวมกันเป็นกลุ่ม กินรำ แมลงและหญ้าเป็นอาหารหลัก คุณสมบัติของไก่เบตง เมื่อนำไปปรุงอาหารเนื้อจะมีความหวานนุ่มนวล แต่ไม่เปื่อยยุ่ยเหมือนไก่ทั่วๆไปที่วางขายตามท้องตลาด อาหารที่นิยมนำมาปรุงอาหารจากไก่เบตง ได้แก่ ไก่ตุ๋นเครื่องยาจีน ไก่ตุ๋นมะนาวดอง ต้มยำไก่ ไก่ต้มราดซีอิ๋ว ฯลฯ ผู้ที่ได้ลิ้มรสไก่เบตงแล้วต่างยอมรับในความพิเศษของไก่เบตงและหาโอกาสที่ทานอีก
เฉาก๋วย หรือ วุ้นดำ
วุ้นดำ & เฉาก๋วย อาหารที่นิยมกันมากว่า 30 ปี ที่หมู่บ้าน กม.4 ของอำภอเบตงทำมาจาก หญ้าวุ้นดำ ซึ่งนำมาจากประเทศจีน
เฉาก๋วย เอามาต้มแล้วกรองด้วยผ้าผสมแป้งมันสำปะหลังทิ้งไว้จนแข็งเป็นวุ้น นำมาผสมกับน้ำเชื่อมและน้ำแข็งรับประทานอร่อยมาก
เบตงในวันนี้   เบตงในวันหน้า   หน้าต่อไป
Design by Narong Rattanaya
If you want more information
Please contact Webmaster